วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จากอดีตสู่ปัจจุบัน

10.วันพระ 25 มิ.ย.49 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

09.วันพระ 20 มิ.ย.49 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

08.วันพระ 4 มิ.ย.49 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

07.วันพระ 21 พ.ค.49.mp3 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

06.วันพระ 6 เม.ย.49.mp3 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

05.วันพระ 29 มี.ค.49.mp3 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

04.วันพระ 22 มี.ค.49.mp3 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

03.วันพระ 7 มี.ค 49.mp3 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

02.วันมาฆบูชา13 ก.พ.49 - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

01ไตเติ้ล - ชุดที่ 1


ดาวน์โหลด

เทศนาจากพระอาจารย์ (ชุดที่ 1)

ชุดที่ 1. (ดาวน์โหลด)
มีทั้งหมด 47 ไฟล์ด้วยกัน ดังนี้ :-
01. ไตเติ้ล (รับฟัง)
02. วันมาฆบูชา13 ก.พ.49 (รับฟัง)
03. วันพระ 7 มี.ค 49 (รับฟัง)
04. วันพระ 22 มี.ค.49 (รับฟัง)
05. วันพระ 29 มี.ค.49 (รับฟัง)
06. วันพระ 6 เม.ย.49 (รับฟัง)
07. วันพระ 21 พ.ค.49 (รับฟัง)
08. วันพระ 4 มิ.ย.49 (รับฟัง)
09. วันพระ 20 มิ.ย.49 (รับฟัง)
10. วันพระ 25 มิ.ย.49 (รับฟัง)
11. วันพระ 3 ก.ค.49 (รับฟัง)
12. วันเข้าพรรษา 11 ก.ค.49 (รับฟัง)
13. วันพระ 18 ก.ค.49 (รับฟัง)
14. วันพระ 25 ก.ค.49 (รับฟัง)
15. วันพระ 2 ส.ค.49 (รับฟัง)
16. วันพระ 9 ส.ค.49 (รับฟัง)
17. วันพระ 17 ส.ค.49 (รับฟัง)
18. วันพระ 23 ส.ค.49 (รับฟัง)
19. วันพระ 31 ส.ค.49 (รับฟัง)
20. วันพระ(รับตายาย) 7 ก.ย 49 (รับฟัง)
21. วันพระ 15 ก.ย 49 (รับฟัง)
22. วันรับ-ส่งตายาย 21 ก.ย 49 (รับฟัง)
23. วันพระ 30 ก.ย 49 (รับฟัง)
24. วันพระ 7.ต.ค 49 (รับฟัง)
25. วันปวารณา 7.ต.ค 49 (รับฟัง)
26. วันออกพรรษา 8.ต.ค 49 (รับฟัง)
27. วันพระ 15.ต.ค 49 (รับฟัง)
28. วันพระ 11 ม.ค.50 (รับฟัง)
29. วันพระ 21.ต.ค 49 (รับฟัง)
30. วันพระ 29.ต.ค 49 (รับฟัง)
31. วันพระ 12พ.ย49 (รับฟัง)
32. วันพระ 20พ.ย49 (รับฟัง)
33. วันพระ 28 พ.ย49 (รับฟัง)
34. สาธุการเทศนาแผ่เมตตา (รับฟัง)
35. อุปโลกสังฆทาน (รับฟัง)
36. ให้พรอนุโมทนา (รับฟัง)
37. คำลาพระ (รับฟัง)
38. ขัดสัคเค (รับฟัง)
39. บูรพารัศมิง (รับฟัง)
40. บารมี10ทัศ (รับฟัง)
41. ยถาแปล (รับฟัง)
42. บทปลงสังขาร (รับฟัง)
43. พาหุงบาลี 03 (รับฟัง)
44. พาหุงแปล 04 (รับฟัง)
45. ชินบัญชรบาลี 01 (รับฟัง)
46. ชินบัญชรแปล 02 (รับฟัง)
47. ชินบัญชรบาลีพร้อมแปล (รับฟัง)

เทศนาจากพระอาจารย์

ชุดที่ 1. (ดาวน์โหลด)
มีทั้งหมด 47 ไฟล์ด้วยกัน เชิญรับฟัง

ชุดที่ 2. (ดาวน์โหลด)
มีทั้งหมด 93 ไฟล์ด้วยกัน เชิญรับฟัง

ประวัติวัดประดู่พัฒนาราม





















  
ประวัติวัดประดู่พัฒนาราม
ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
            วัดประดู่พัฒนาราม หรือ วัดประดู่ หรือ วัดโด  เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ กษัตริย์ไทย และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีต วัดประดู่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ทั้งหมด 19 ไร่ 54.7 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 7062 เล่มที่ 71 หน้าที่ 62 อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1815 ได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ. 1820 เป็นวัดฝ่ายมหานิกาย
            ตำนานการสร้างวัด มีอยู่ 2 ระยะ ดังปรากฏในหนังสือ น้อมรำลึก โดยน้อย อุปรมัย (อดีต ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช และอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร) กล่าวว่า
            ในระยะแรก สมัยสมเด็จพระราเมศวร ได้อพยพพลเมือง จากทางภาคเหนือ แถวแคว้นล้านนา และทางภาคอีสานบางส่วน ให้มาตั้งถิ่นฐานทางภาคใต้ รวมทั้งเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ได้ผสมผสานกับชนพื้นเมือง
ในการนี้  บุคคลที่สำคัญยิ่งท่านหนึ่ง ชื่อว่า พระพนมวัง ภริยาชื่อ นางเสดียงทอง ถูกส่งให้มาควบคุมดูแลพลเมือง และช่วยพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ ได้นิมนต์พระภิกษุ ให้มาช่วยสร้างวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวในของพลเมือง พระภิกษุรูปนั้นชื่อว่า พระมหาเถรอนุรุธ ได้จัดการสร้างวัดทางด้านทิศเหนือชานเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งบริเวณพื้นที่เป็นดอนทราย หรือ หาดทราย มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มไปหมด สภาพเป็นป่ารกชัด แต่มีต้นประดู่ขึ้นอยู่มาก เมื่อสร้างวัด จึงให้ชื่อว่า วัดประดู่ ภาษาภาคใต้เรียกว่า วัดโด
วัดประดู่ ในระยะแรกรุ่งเรือง อยู่ไม่นานก็ร้างเจ้าอาวาส และวัดก็รกร้างลง ได้รับการ ปฏิสังขรณ์ เป็นครั้งคราว เมื่อมีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่บางครั้ง
ข้อมูลจาก สารนครศรีธรรมราช ปีที่ 28 ฉบับที่ 4 เมษายน 2542 กล่าวว่าพี่สาวของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) ชื่อ หญิง หรือ คุณหญิง เป็นผู้เสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เป็นผู้สร้างวัดประดู่
มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ.2319 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงตั้งให้เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และมารับตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. 2325 2327 มีชายาชื่อ หม่อมทองเหนี่ยว มีธิดา 1 องค์ ชื่อ เล็ก หรือ คุณเล็ก คุณเล็กได้สมรสกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) จากบันทึกอันนี้ แสดงให้เห็นว่า วัดประดู่ มีอยู่ก่อนแล้ว จึงอาจเป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ สร้างถาวรวัตถุ ต่างๆขึ้น โดยคุณหญิง ซึ่งตรงกับหลักฐานใน พงศาวดาร เมืองนครศรีธรรมราช เขียนโดย หลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) ว่าเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) ได้สนับสนุนการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดประดู่ครั้งใหญ่ มีการขุดคลอง ด้านทิศตะวันออก ขุดสระน้ำด้านทิศตะวันตก หน้าวัด สร้างกำแพงหนาขนาดกับทางเดิน (ถนนราชดำเนิน ตอนนั้นยังไม่มีถนนและชื่อถนน เป็นเพียงแต่ทางเดิน)
ต่อมา พ.ศ.2470 ในรัชกาลพระบาลสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตระกูล ณ นคร ได้บูรณะอุโบสถ ทั้งหมด ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น พร้อมกับจัดสร้างซุ้มพัทธสีมา เป็นศิลปะจีนประยุกต์ ดังปรากฏอยู่ปัจจุบัน
วัดประดู่  ได้รับการพัฒนาตลอดมา โดยการทนุบำรุงจากตระกูล ณ นคร และพุทธบริษัท การสร้างวัดประดู่ทั้ง 2 ระยะ นี้มีประวัติบันทึกไว้ อย่างชัดเจน และต่อเนื่องกัน ขอให้วัดประดู่ ดำรงความเป็นวัดประดู่ อยู่จวบจนฟ้าดินสลาย เพราะเป็นวัดที่สำคัญของแผ่นดิน

โบราณสถานภายในวัดประดู่
                                                                                                                                             





ก.   เก๋งพระเจ้าตาก  หรือ  ตึกเจ้าตาก    ตั้งอยู่ตรงหน้าอุโบสถอาคารทรง สี่เหลี่ยมจตุรัส ผนังก่ออิฐ ถือปูนหนาทึบ 3 ด้าน ยกพื้น สูง  กว้าง และ ยาว ด้านละ 6 เมตร โครงหลังคาทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ลักษณะศิลปะจีน






ด้านหน้ามีประตู มีบานประตู 2 บานใหญ่ ทำด้วยไม้ ฉลุลวดลายเป็นป่าไม้และสัตว์ป่า ส่งมาจากเมืองจีน เพราะมีคำพังเพยที่คนพูดกันติดปากว่า เข้าวัดแจ้ง ดูเก๋งปูนปั้นซุ้มประตู เข้าวัดประดู่ ดูลายไม้แกะจากเมืองจีน







ภายในเก๋งพระเจ้าตาก  มีบัว  คือ  เจดีย์  ขนาดย่อม 1 องค์ส่วนยอดเป็นรูปทรงดอกบัวตูม  สร้างเป็นบัว 3 ชั้น  ย่อมุมไม้ 12 สูง ประมาณ 2 เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับลวดลายด้วยกระจกสี ปิดทองล่องชาด







ในหนังสือ น้อม  รำลึก กล่าวว่า  เก๋งพระเจ้าตาก สร้างขึ้นโดย เจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบุตรของ เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้เป็นพระโอรส ของพระเจ้าตากสินสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2385 (บางแห่งว่า 2358) ในขณะที่ยังดำรงบรรดาศักดิ์ เป็น พระยานครศรีธรรมราช ในปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ได้สร้างเก๋งพระเจ้าตากนี้ ประสงค์เพื่อให้เก็บอัฐิ เจ้าพระยานคร (น้อย) โดยถือตามธรรมเนียมประเพณีจีนว่า บุตรชายต้องทำศพพ่อ
ครั้นนั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเพลิง  พระบรมศพของ พระเจ้าตากสินมหาราช  ที่วัดบางยี่เรือใต้ เมื่อ พ.ศ.2327  แล้ว  พระบรมอัฐิของพระเจ้าตากสิน  ได้ตกทอดถึงทายาท แบ่งปันกันเก็บรักษา ซึ่งรวมถึง  เจ้าพระยานคร (น้อย) ด้วย
เจ้าพระยานคร (น้อย)  เก็บพระบรมอัฐิไว้เพื่อรอโอกาสที่จะประกอบพิธี  เก็บพระบรมอัฐิในที่ ๆ เหมาะสม  แต่เนื่องจากตลอดชีวิตของพระยานคร (น้อย) หาเวลาว่างแทบไม่ได้เลย จนกระทั่งถึงอนิจกรรม
เจ้าพระยานคร (น้อยกลาง)  ผู้บุตร  จึงได้ถือโอกาสบรรจุพระบรมอัฐิของ พระอัยกา และอัฐิของบิดา ไว้ในเจดีย์องค์เดียวกัน ดังนั้น ประชาชนจึงเรียกเก๋งนี้ว่า เก๋งพระเจ้าตาก หรือ ตึกเจ้าตาก ทุก ๆปี ทายาทในตระกูล ณ นคร จะไปทำบุญอุทิศถวายมิได้ขาด
เมื่อ พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยี่ยม ตึกเจ้าตาก ที่วัดประดู่นี้ด้วย
ตึกเจ้าตาก  ได้รับการซ่อมแซม มาตามลำดับ หลังจากกรมศิลปากร  ขึ้นทะเบียนแล้ว  พ.ศ. 2514 ได้ซ่อมแซมให้ดูสวยงามขึ้นและ พ.ศ. 2540 ก็ซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง ทุกอย่าง ยังรักษารูปแบบศิลปะเดิมไว้








ข. อุโบสถ  เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นรูปแบบโบราณปัจจุบันหาดูได้ยาก  รูปแบบอาคาร  ฐานล่างทำเป็นทรงเรือสำเภา ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน  ไม่มีเสา  ไม่ใช้เหล็ก  ผนังหนาประมาณ 1 ศอก อุโบสถนี้ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานชัดเจนแต่ได้รับการบูรณะเสมอมา
 ได้พบหลักฐาน  จดหมายที่ท่านกลั่น ณ นคร  เขียนถึงพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)  บอกให้ทราบว่าได้ซ่อมโบสถ์ และถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์  อันมีพระอธิการบุญรอด เจ้าอาวาสเป็นประธานความว่า (ลอกตามจดหมายที่ท่านกลั่น ณ นคร เขียนบางตอน)
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2499  กราบเรียน.. ในการปฎิสังขรณ์  ซ่อม โบถวัดประดู่ที่ชำรุด  โดยทุนละทรัพย์ของใต้เท้าขุนชำนาญเวชชศาสตร์  ผู้จัดอำนวยการ  ให้กลับเป็นวัตถุมั่นคงถาวร แล สวยงามขึ้น พร้อมด้วยอุปกรณ์  ปูลาด  อาศนะ  ไฟฟ้า  ม้าหมู่  เครื่องบูชา อยู่เบื้องหน้าพระประทาน  นอกนี้  ยังมีฉากรูป  เรื่อง  พระเวศสันดรชาฎก  ติดฝาผนังโบถด้วย การปฎิสังขรณ์ สำเร็จรูปมาแล้ว ดังนี้ เป็นยอด ยากจะมีผู้ศรัทธาจะทำได้ ฯลฯ
ตามที่เกล้าผม พรรณา  กราบเรียนมานี้  เพื่อเพิ่มความปิติเลื่อมใส  ให้แช่มชื่นในใต้เท้า  ผู้บริจาคทาน  และทราบซึ่งในการกุศลครั้งนี้ แล เกล้าผม ขอกราบเรียน ขออนุโมทนาบุญ ด้วยกาย  วาจา  ใน  ด้วยความบริสุทธิ์ด้วย
                            แล้วแต่จะโปรด
                              กลั่น ณ นคร
ต่อมา   พ.ศ. 2537 พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด) เจ้าอาวาสวัดประดู่  ได้ บรูณะปฎิสังขรณ์อุโบสถ ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง  คือ ซ่อมหลังคา  ใส่ช่อฟ้า  ใบระกา  เปลี่ยนกระเบื้อง  ฉาบปูนทาสีใหม่หมด
สำหรับบันไดทางขึ้นอุโบสถ คุณพร้อม ณ นคร ให้ช่างตกแต่งสร้างพญานาคทั้งหมด 8 ตัว เพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น




 ที่หน้าบัณโบสถ์ให้ทำเป็นรูปดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล ณ นคร




อุโบสถวัดประดู่  จึงมีเอกลักษณ์เด่นสวยงาม เป็นของโบราณที่หาดูได้ยาก




ค. ปอน้ำเจ้าพระยา เป็นบ่อน้ำที่เจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2385 เพื่อใช้น้ำในวันทำบุญ เซ็งเหม็ง ประจำปี ปัจจุบันบ่อน้ำนี้ อยู่ในบริเวณปากประตูทางเข้าโรงเรียน




ง. พระประธานประจำศาลาอัมพร เป็นพระพุทธรูปสร้างมาตั้งแต่สมัยแรกๆ สร้างวัด บ้างกล่าวว่า พระมหาเถรอนุรุธ นำมาแต่กรุงอโยธยาตามรอยจาตึกติดอยู่ที่ฐานบัวคว่ำบัวหงายเมื่อก่อนนั้นประดิษฐานบัวเจดีย์ที่เก็บอัฐิพระสังฆราชเมืองนครศรีธรรมราชรูปหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระมหาเถรอนุรุธ




 เมื่อ พ.ศ. 2513 พลโท อัมพร จินตกานนท์ เป็นประธานสร้างศาลาอัมพร เมื่อศาลาสร้างสำเร็จ จึงอัญเชิญพระพุทธรูปในวิหารพระสังฆราช มาประดิษฐาน เป็นพระประธาน ประจำศาลาอัมพรพร้อมด้วยพระอัครสาวก เป็นที่เคารพของพุทธบริษัท จนถึงปัจจุบัน



วัดประดู่  ก็เหมือนสรรสิ่งทั่วไป มีขึ้นมีลง มีเจริญ มีเลื่อมบางยุคบางสมัยก็เจริญ แต่บางสมัยก็ร้างไม่มีพระอยู่จำพรรษา
เมื่อ พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด  ฆงคสูวณโณ) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ ได้เป็นหลักในการพัฒนาวัด จนเจริญก้าวหน้าเกือบทุดด้าน เมื่อ พ.ศ.2515 ได้มีหนังสือรับรองจากกรมการศาสนา ยกเป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง ในยุคสมัยของพระครูพิศาลพัฒนกิจนี้เองได้เพิ่มคำว่า พัฒนาราม ต่อท้ายวัดประดู่เป็น วัดประดู่พัฒนาราม จนถึงปัจจุบัน

เจ้าอาวาสวัดประดู่พัฒนาราม
วัดประดู่ บางครั้งก็รกร้าง  เพราะว่างเจ้าอาวาส ไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา บางครั้งมีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา 1-2 พรรษา ก็ไปอยู่ที่อื่น ปล่อยให้วัดร้างอยู่อย่างนั้น  จนกระทั่งถึงสมัยของพระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด)
คุณโยมพุ่ม  พินธุ  อายุ 91 ปี  บ้านอยู่สวยจันทร์  ตำบลปากพูน  อำเภอเมือง  ซึ่งเป็นอุบาสก   ประจำวัดประดู่พัฒนารามตลอดชั่วอายุของท่าน ท่านสามารถจำเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าอาวาสวัดประดู่พัฒนาราม ในช่วงชีวิตของท่านได้ดี นามเจ้าอาวาสที่ท่านสามารถจำได้ มีดังนี้
1.            พ่อท่านหนู   ฐานิสสโร             พ.ศ. 2472 -- 2475
2.            พ่อท่านกล่ำ     ธมมสาโร           พ.ศ. 2475 -- 2480
3.            พ่อท่านรุ่ง   จิตฺตรกฺโข               พ.ศ. 2480 -- 2482
4.            พ่อท่านปาน   กิตฺติปาโล            พ.ศ. 2482 -- 2484
5.            พ่อท่านศรีใหม่  ธมฺมรกฺโข        พ.ศ. 2482 -- 2494
6.            พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด  ฆงฺคสุวณฺโณ) พ.ศ. 2494 -- 2538
7.            พระครูปริยุติคุณาสัย(รั่น  อริโย)พ.ศ. 2538- ปัจจุบัน
ในยุคของพระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด)   เป็นยุคพัฒนาวัดประดู่อย่างแท้จริง  และยุคก่อนจากนี้  การก่อสร้างต่าง ๆในวัด  ดูจะเป็นไปด้วยความลำบาก  จนมีคำพูดของชาวบ้านพูดต่อกันมาว่า
ท่านรุ่งสร้างถาน (ส้วม)  ท่านปานสร้างได (บันได)  ท่านไหม่สร้างครัว  พระครูพิศาลพัฒนกิจ  ได้สร้างถาวรวัตถุในวัดไว้เกือบจะสมบูรณ์  นอกจากนี้แล้ว  ท่านยังดำรงตำแหน่งในทางคณะสงฆ์  คือ
· เป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
· เป็นอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช
และเป็นอุปัชฌาย์  ของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน  ซึ่งท่านไดวางแนวทางให้เจ้าอาวาสได้ดำเนินแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน  ดังนี้
1.            โครงการปลูกไม้ประดับและไม้ผล
2.            โครงการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน
3.            โครงการเข้าค่าย  อบรมจริยธรรม  แก่นักเรียนและเยาวชนทั่วไป
4.            โครงการอบรมประชาชน  อุบาสก  อุบาสิกา  ในฐานพลเมืองดี
โครงการเหล่านี้  ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว  และประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคม  เป็นที่ปรากฏอย่างดียิ่ง
เห็นได้ว่า  วัดประดู่พัฒนาราม  เป็นวัดเก่าแก่มีประวัติอันยาวนาน  ปรากฏหลักฐานเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ไทย  และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถือว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง  ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
รวบรวมและเรียบเรียง
โดยพระครูปริยัติคุณาสัย (รั่น  อริโย)
นธ.เอก,ปธ.4,พธ.บ,M.A.

ข้อมูลอ้างอิง
  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้  เล่ม 5 พ.ศ.2526
  สารนครศรีธรรมราชปีที่  28  ฉบับที่ 4 เมษายน 2541